คำชี้แจง
หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เล่มนี้ได้ออกแบบหน่วยการ
เรียนรู้ให้แต่ละหน่วยการเรียนรู้ประกอบด้วย
1. มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียนเมื่อจบการศึกษาใน
หน่วยการเรียนรู้นั้น ๆ หรือเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนานักเรียนให้ได้รับและปฏิบัติได้ในหน่วยการเรียนรู้
ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ มีรหัสของมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปีกำ กับไว้หลัง
ตัวชี้วัดชั้นปี เช่น พ 3.1 ป. 6/1 (รหัสแต่ละตัวมีความหมายดังนี้ พ คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา 3.1 คือ สาระที่ 3 มาตรฐานการเรียนรู้ข้อที่ 1 ป. 6/1 คือ ตัวชี้วัดชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 ข้อที่ 1)
3. สาระการเรียนรู้ เป็นการนำ เสนอขอบข่ายเนื้อหาที่นักเรียนจะได้เรียนรู้ในระดับชั้นนั้น ๆ
4. ประโยชน์จากการเรียน นำ เสนอไว้เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนนำ ความรู้ ทักษะจากการเรียน
ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ วัน
5. คำ ถามชวนคิด (คำ ถามนำ สู่การเรียนรู้) เป็นคำ ถามหรือสถานการณ์เพื่อกระตุ้นให้
นักเรียนเกิดความสงสัยและสนใจที่จะค้นหาคำ ตอบ
6. เนื้อหา เป็นเนื้อหาที่ตรงตามสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดชั้นปี และสาระการเรียนรู้
แกนกลาง โดยแบ่งเนื้อหาเป็นช่วง ๆ แล้วแทรกกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่พอเหมาะกับการเรียน
รวมทั้งมีการนำ เสนอด้วยภาพ ตาราง แผนภูมิ และแผนที่ความคิด เพื่อเป็นสื่อให้นักเรียนสร้าง
ความคิดรวบยอดและเกิดความเข้าใจที่คงทน
7. นานา น่ารู้ (ความรู้เสริมหรือเกร็ดความรู้) เป็นความรู้เพื่อเพิ่มพูนให้นักเรียนมีความรู้
กว้างขวางขึ้น โดยคัดสรรเฉพาะเรื่องที่นักเรียนควรรู้
8. กิจกรรมเรียนรู้...สู่ปฏิบัติ (กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้) เป็นกิจกรรมที่กำ หนดไว้เมื่อจบ
เนื้อหาแต่ละตอนหรือแต่ละหัวข้อ เป็นกิจกรรมที่หลากหลาย ใช้แนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ที่สอดคล้อง
กับเนื้อหา เหมาะสมกับวัย และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของนักเรียน สะดวกในการปฏิบัติ กระตุ้น
ให้นักเรียนได้คิด และส่งเสริมให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม มีคำ ถามเป็นการตรวจสอบผลการเรียนรู้
ของนักเรียน ได้ออกแบบกิจกรรมไว้อย่างหลากหลาย และมีมากเพียงพอที่จะพัฒนาให้นักเรียน
เกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายของหลักสูตร โดยครูผู้สอน/นักเรียนสามารถนำ กิจกรรมดังกล่าวมา
ใช้ปฏิบัติในช่วงกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ได้
9. แหล่งสืบค้นความรู้เป็นแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น เว็บไซต์หนังสือ
สถานที่ หรือบุคคล เพื่อให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับเรื่องที่เรียน
10. บทสรุปหน่วยการเรียนรู้ ได้จัดทำบทสรุปเป็นผังมโนทัศน์ (concept map) เพื่อให้
นักเรียนได้ใช้เป็นบทสรุปทบทวนความรู้โดยวิธีการจินตภาพจากผังมโนทัศน์ที่ได้สรุปเนื้อหาที่ได้
จัดทำไว้
11. กิจกรรมเสนอแนะ เป็นกิจกรรมบูรณาการทักษะที่รวมหลักการและความคิดรวบยอดใน
เรื่องต่าง ๆ ที่นักเรียนได้เรียนรู้ไปแล้วมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม
12. โครงงาน เป็นข้อเสนอแนะในการกำหนดให้นักเรียนปฏิบัติโครงงาน โดยเสนอแนะหัวข้อ
โครงงานและแนวทางการปฏิบัติโครงงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปีของ
หน่วยการเรียนรู้นั้น เพื่อพัฒนาทักษะการคิด การวางแผน และการแก้ปัญหาของนักเรียน
13. การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นกิจกรรมที่เสนอแนะให้นักเรียนได้นำความรู้ทักษะ
ในการประยุกต์ความรู้ในหน่วยการเรียนรู้นั้นไปใช้ในชีวิตประจำวัน
14. คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ เป็นคำถามที่ต้องการให้นักเรียนได้สะท้อนความคิดใน
เนื้อหาที่ได้ศึกษา โดยเน้นการนำหลักการตั้งคำถามสะท้อนคิด (RCA) มาจัดเรียงเป็นคำถามตาม
เนื้อหาที่นักเรียนได้เรียนรู้
15. บรรณานุกรม เป็นรายชื่อหนังสือ เอกสาร หรือเว็บไซต์ที่ใช้ค้นคว้าอ้างอิงประกอบการ
เรียบเรียงเนื้อหาความรู้
16. คำอภิธานศัพท์เป็นการนำคำสำคัญที่แทรกอยู่ตามเนื้อหามาอธิบายให้ความหมาย และ
จัดเรียงตามลำดับตัวอักษร เพื่อความสะดวกในการค้นคว้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น