วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ADDIE model

 วิเคราะห์สื่อการสอนตามแบบของ ADDIE model ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ




1. ขั้นการวิเคราะห์ Analysis

        1.1 การกำหนดหัวเรื่องและวัตถุประสงค์ทั่วไป
            เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายค่อนข้างน้อย และมีความสนใจการเล่นเกมส์มากกว่าการออกกำลังกาย จึงส่งผลให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง

        1.2 การวิเคราะห์ผู้เรียน
            เนื่องจากผู้เรียนทุกคนมีการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันอยู่แล้วทำให้ผู้สอนจัดทำสื่อนี้ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในบทเรียนได้ง่ายขึ้น
      
        1.3 การวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
                แสดงวิธีการปฏิบัติท่ากายบริหารประกอบเพลงที่กำหนดให้อย่างถูกต้อง

      1.4 การวิเคราะห์เนื้อหา
                ในเนื้อหาบทเรียนที่จะสอนเป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วยการเต้นหรือการแสดงท่าทางประกอบจังหวะเพลง ในการสอนได้วางแผนการสอน โดยจะเริ่มจากตัวเนื้อหาที่เป็นพื้นฐานที่สุดก่อนแล้วค่อยเจาะลึกในเนื้อหา ต้องให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนตามลำดับความง่ายไปยาก

2. ขั้นตอนการออกแบบ Design
        2.1 การศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์
                      ในเนื้อหาที่จะสอน จะเริ่มจากครูนำนักเรียนอบอุ่นร่างกาย (warm-up) ศึกษาเนื้อหากายบริหารประกอบเพลง ร่วมกันจัดการฝึกซ่อมการแสดงท่ากายบริหารประกอบเพลง และร่วมกันคิดรูปแบบการแปรขบวนขึ้นใหม่ แล้ววาดแผนผังรูปแบบการแปรขบวนลงในสมุดบันทึกและปฏิบัติพร้อมๆกัน

        2.2 การออกแบบการเรียนการสอน
                วางแผนการสอน เริ่มตั้งแต่รูปแบบการฝึกปฏิบัติกายบริหารประกอบเพลง รูปแบบและการฝึกปฏิบัติารแปรขบวนประกอบเพลง

3. ขั้นการพัฒนา Development
        3.1 การเตรียมการ
- เตรียมเรื่องที่จะสอน
- ออกแบบบทเรียน

       3.2 สร้างบทเรียน
       เตรียม PowerPoint เรื่อง กิจกรรมเข้าจังหวะ กายบริหารประกอบเพลง

4. การนำไปใช้ Implement
       4.1 การปฏิบัติภาคสนาม
        จากการวางแผน และรูปแบบการสอนต้องทำให้ผู้เรียนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ให้ได้

5. การประเมิน Evaluation
        นำความรู้และทักษะที่ได้จากการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับกิจกรรมเข้าจังหวะไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านร่างกาย

>> ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ในการพัฒนาสื่อ 

            โดยการพัฒนาสื่อจมีโครงสร้างของบทเรียนในลักษณะเชิงเส้นตรง (Linear) โดยผู้เรียนทุกคนจะได้รับการนำเสนอเนื้อหาในลำดับที่เหมือนกันและตายตัวซึ่งเป็นลำดับที่ผู้สอนได้พิจารณาแล้วว่าเป็นลำดับการสอนที่ดีและผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้อย่งมีประสิทธิภาพมากที่สุด และเน้นทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ คือ การสอนจะกำหนดจุดมุ่งหมายชัดเจนจัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วยๆ และจะสอนเริ่มจากสิ่งที่ง่ายไปสิ่งที่ยากและให้ผู้เรียนได้มีการฝึกหัด หรือทำกิจกรรมนั้นซ้ำอีกตามความเหมาะสมเพื่อให้เกิดความแม่นยำ และความชำนาญยิ่งขึ้น

แผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP)

แผนการสอนเฉพาะบุคคล
(Individual Implementation Plan : IIP)
ชื่อผู้เรียน _________________ กลุ่มสาระการเรียนรู้/ทักษะ สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 1 คาบ คาบละ 50 นาที
วันที่สอน ครั้งที่ 1 วันที่เริ่มต้น 28 สิงหาคม 2563 วันสิ้นสุด 28 สิงหาคม 2563

1. เนื้อหา
    กายบริหารประกอบเพลง เป็นการผสมผสานการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้ท่ากายบริหารประกอบเพลง ทั้งเพลงตามสมัยและเพลงที่กำหนด การบริหารร่างกายมีหลายลักษณะ หลายรูปแบบอาจจะบริหารด้วยท่ามือเปล่าหรือมีเครื่องมือประกอบก็ได้ และการใช้จังหวะดนตรีประกอบช่วยให้จังหวะการเคลื่อนไหวมีความสม่ำเสมอ เป็นการฝึกประสาทและกล้ามเนื้อให้มีความสัมพันธ์กัน

2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
   1. อธิบายความหมายและความสำคัญตลอดจนรูปแบบของกิจกรรมการเข้าจังหวะอย่างถูกต้องได้
   2. อธิบายลักษณะของรูปแบบการแสดงท่ากายบริหารประกอบเพลงที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง
   3. แสดงวิธีการปฏิบัติท่ากายบริหารประกอบเพลงที่กำหนดให้อย่างถูกต้อง

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้
    ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
     - ครูนำนักเรียนอบอุ่นร่างกาย (warm-up) เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติกิจกรรม
    - นักเรียนแบบฝึกหัดพลศึกษา ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กิจกรรมเข้าจังหวะ

    ขั้นสอน
     ครู อธิบาย ท่าทาง ท่ากายบริหารประกอบเพลง ให้นักเรียนดูแล้วให้ร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความหมายความสำคัญและรูปแบบของกิจกรรมเข้าจังหวะในการแสดงท่าทางประกอบเพลงและให้นักเรียนสอบถามในประเด็นที่สนใจ และ นำเสนอ PowerPoint เรื่อง กิจกรรมเข้าจังหวะ กายบริหารประกอบเพลง

    ขั้นสรุป
        - ร่วมกันจัดการฝึกซ้อมการแสดงท่ากายบริหารประกอบเพลง
        - บันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรมเข้าจังหวะในแต่ละกิจกรรม เกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

    4. สื่อการจัดการเรียนรู้
       - PowerPoint เรื่อง กิจกรรมเข้าจังหวะ กายบริหารประกอบเพลง

    5. สิ่งเสริมแรงที่ใช้
       1. คำชมเชย
       2. คะแนนสะสมเมื่อตอบถูก

    6. การวัดผลประเมินผล
        1. สังเกต
         2. แบบฝึกหัดพลศึกษา ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กิจกรรมเข้าจังหวะ

       วิธีวัดและประเมินผล
            1. สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรมและการตอบคาถาม
          2. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบตามที่ครูกำหนด

        เกณฑ์การวัดและประเมินผล 
           ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

      7. บันทึกผลหลังการสอน
          ผลการสอน
                สามารถอธิบายความหมายและความสำคัญตลอดจนรูปแบบของกิจกรรมการเข้าจังหวะ แสดงวิธีการปฏิบัติท่ากายบริหารประกอบเพลงที่กำหนดให้

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

แผนการจัดการเรียนแบบสืบเสาะ (5Es)


 แผนการจัดการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษา วิชาพลศึกษา รหัส พ16101 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ชื่อหน่วย เพิ่มพูนทักษะการเคลื่อนไหว เวลาเรียน 1 ชั่วโมง/คาบ
แผนการเรียนรู้ที่ 22 เรื่อง กิจกรรมเข้าจังหวะ กายบริหารประกอบเพลง

    
   สาระมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้   

    การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของไทย ปัจจุปันยึดแนวคิดของการพัฒนาที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นการสร้างความเข้าใจในขอบข่ายของเรื่องที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ รายละเอียดในการเรียนรู้ เป้าหมายของการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดและประเมินผลเพื่อตรวงสอบผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ดังกล่าวให้ผู้เรียนได้รับรู้ นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานในแนวทางและขอบข่ายองค์ความรู้ที่ได้การศึกษาแล้ว ยังจะช่วยให้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาของไทยบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ที่ได้วางไว้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาในระดับประถมศึกษา ได้กำหนดตัวชี้วัดการเรียนรู้เป็นชั้นปี โดยแบ่งสาระการเรียนรู้ออกเป็น 5 สาระและ 6 มาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งรายวิชาฟื้นฐาน พลศึกษา ได้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ที่สาระที่ 3 มาตรฐาน พ 3.1 และมาตรฐาน พ 3.2 หากผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใงในเรื่องคังกล่าวอย่างชัดเจนแล้วจะช่วยให้การเรียนรู้และการเข้าร่ามกิจกรรมของผู้เรียนมีการพัฒนาและบรรลุไปสู่เป้าหมาย

    
  สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
        กายบริหารประกอบเพลง เป็นการผสมผสานการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้ท่ากายบริหารประกอบเพลง ทั้งเพลงตามสมัยและเพลงที่กำหนด การบริหารร่างกายมีหลายลักษณะ หลายรูปแบบอางจะบริหารด้วยท่ามือเปล่าหรือมีเครื่องมือประกอบก็ได้ และ การใช้จังหวะคนตรีประกอบช่วยให้จังหวะการเคลื่อนไหวมีความสม่ำเสมอ เป็นการฝึกประสาทและกล้ามเนื้อให้มีความสัมพันธ์กัน

    
    จุดประสงค์การเรียนรู้
        
ความรู้ (K-Knowledge)

๑. อธิบายความหมายและความสำคัญตลอดจนรูปแบบของกิจกรรมการเข้าจังหวะอย่างถูกต้องได้

๒. อธิบายลักษณะของรูปแบบการแสดงท่ากายบริหารประกอบเพลงท่าที่ 1 และท่าที่ 2              ที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง


ทักษะกระบวนการ (P-Process/ Practice)    

        แสดงวิธีการปฏิบัติท่ากายบริหารประกอบเพลงที่กำหนดให้อย่างถูกต้องได้คุณธรรม จริยธรรม เจตคติ และค่านิยม (A-Attitude)

เข้าร่วมกิจกรรมกายบริหารประกอบเพลงร่วมกบผู้อื่นด้วยความสนุกสนานและชื่นชอบ

    
    สมรรถนะสำคัญที่สอดแทรก
        ความสามารถในการแก้ปัญหา มีความสามารถในการแก้ปัญหา และเผชิญปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม บนพื้นฐานของหลักเหตุผล หลักคุณธรรมบนข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆในสังคม  สามารถแสวงหาความรู้และประยุกต์ความรู้เพื่อใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา มีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเองสังคมและสิ่งแวดล้อม

    
    ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
        มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีทักษะในการดำรงชีวิตทักษะการทำงาน และทักษะในการอยู่ร่วมกันในสังคม ทักษะการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล สามารถจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆได้อย่างเหมาะสม สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสภาพแวดล้อม และรู้จักหลีกเลี่ยงการแสดงพฤติกรรม ไม่พึงประสงค์ที่จะส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

    มาตรฐานการเรียนรู้

        พ 3.1 เข้าใจมีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกม และกีฬา 
        พ 3.2 รักการออกกำ ลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจำ อย่างสม่ำ เสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำ ใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน และชื่นชม ในสุนทรียภาพของการกีฬา


    ตัวชี้วัดชั้นปี
        แสดงทักษะการเคลื่อนไหวร่วมกับผู้อื่นในลักษณะแบบผลัดและแบบผสมผสานได้ตามลำ ดับ ทั้งแบบอยู่กับที่ เคลื่อนที่ และใช้อุปกรณ์ประกอบ และการเคลื่อนไหวประกอบเพลง (พ 3.1 ป. 6/1)


    สาระการเรียนรู้
        1. ความหมายและความสำ คัญของกิจกรรมเข้าจังหวะ 
        2. รูปแบบและการฝึกปฏิบัติกายบริหารประกอบเพลง 
        3. รูปแบบและการฝึกปฏิบัติการแปรขบวนประกอบเพลง

     ความหมายและความสําคัญของกิจกรรมเข้าจังหวะ
    
        กิจกรรมเข้าจังหวะ เป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วย การเต้นหรือการแสดงท่าทางประกอบจังหวะเพลง เพื่อเป็นการสร้างเสริมทักษะการ เคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลง ทำ ให้เกิดความสนุกสนาน ผ่อนคลายความตึงเครียด ทางร่างกาย จิตใจ และทำ ให้ทรวดทรง รูปร่าง และบุคลิกภาพดี กิจกรรมเข้าจังหวะ ที่นําเสนอในหน่วยการเรียนรู้นี้ประกอบไปด้วย กายบริหารประกอบเพลง และ การแปรขบวนประกอบเพลง

       ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
        ครูนำนักเรียนอบอุ่นร่างกาย (warm-up) เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติกิจกรรม
 
      ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้

        

คำชี้แจง

อ้างอิง : https://sites.google.com/site/pankeaw1994/content/content1

คำชี้แจง

     หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เล่มนี้ได้ออกแบบหน่วยการ เรียนรู้ให้แต่ละหน่วยการเรียนรู้ประกอบด้วย 
1. มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียนเมื่อจบการศึกษาใน หน่วยการเรียนรู้นั้น ๆ หรือเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 

ADDIE model

  วิเคราะห์สื่อการสอนตามแบบของ  ADDIE model  ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 1.  ขั้นการวิเคราะห์  Analysis           1.1  การกำหนดหัวเรื่องและวัตถุ...